ภาษาโส้
กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาภาษาโส้อำเภอกุสุมาลย์
ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านภาษา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการที่ใช้เชื่อมโยงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วยังประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูดเป็นของตัวเองอีกกว่า 70 กลุ่มภาษา
ประชากรไทโส้ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครเป็นกลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์พิเศษด้านภาษาและวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการทางสังคมโดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันทัศนคติของชาวโส้ต่อการใช้ภาษามีผลในเชิงถดถอยด้อยคุณค่า ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญและไม่สนับสนุนให้เด็กพูดภาษาโส้เป็นภาษาแม่ ถ้าหากเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่หาทางแก้ไขไม่อีกสิบปีข้างหน้าภาษาโส้คงสูญหายอย่างแน่นอน
แนวทางอนุรักษ์และพื้นฟูภาษาโส้
กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาภาษาโส้อำเภอกุสุมาลย์
เราใช้ตัวอักษรไทยในการจัดทำระบบตัวเขียนภาษาโส้ เพื่อเด็กจะได้ถ่ายโอนและเชื่อมโยงองค์ความรู้จากภาษาแม่(ภาษาโส้)ไปสู่ภาษาไทย(ภาษาราชการ) ต่อไปในอนาคต
อ่านภาษาได้ไหม ?
ถ้าคนใดสามารถพูดภาษาโส้ได้ และอ่านภาษาออกคนนั้นสามารถเรียนภาษาโส้ได้อ่านเรื่องง่าย ๆ ที่ใช้อักษรไทยแต่อ่านออกตามสำเนียงภาษาโส้
มะไฮ ฮิ ซะบัด ตะลีง ตัง แซม.
แซม คอง ฮิ ซะบัด ตะลีงไว คะนาด.
ฮิ เฮิม ซะลก คอง แซม ระฮะ.
แซม อี บืน ซะลก ตะไม.
อะไล จัง แซก ปะระ ตัง ฮิ.
พยัญชนะภาษาโส้
โตํ ตะมิด (พยัชนะต้น)
แต่ภาษาโส้มีเสียงพิเศษที่ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นต้องหาระบบการเขียนใหม่ที่จะใช้เฉพาะภาษาโส้ของเราเป็นพิเศษ ภาษาโส้มีเสียงพยัญชนะที่ไม่มีในภาษาไทย
ตัวสะกดบางตัวใช้ได้เหมือนภาษาไทย แต่ภาษาโส้มีเสียงอื่นเป็นตัวสะกดที่ไม่มีในภาษาไทย
อ่านคำนี้ได้ไหม ?
บิจ (นอน) กะตูร (หู) กุยาล (ลม)
จิตาญ (ทอ) กึยอ์ (เล็ก) อุยฮ (ไฟ)
ภาษาโส้มีบางคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นที่ขึ้นจมูกออกเสียงคล้ายกับเสียง ม หรือ น แต่สั้น ๆ อาจจะใช้ อื เป็นสัญลักษณ์สำหรับเสียงนี้
อ่านคำนี้ได้ไหม ?
อืปี (พริก) อืเปา (ฝัน) อืจึก (ฝาด)
อืไช (เดือน) อืตีบ (ถี่) อืตาง (ห่าง)
อืกีง (สะเอว) อืคะ (กิ่งก้าน)
ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ แต่ภาษาโส้มีเสียงอื่นพิเศษที่อาจจะเรียกว่า เสียงหนัก หรือเสียงใหญ่ (เสียงที่ถูกเน้นให้หนักกว่าเสียงสามัญในภาษาไทย) เสียงหนัก โดยใช้ ไม้เอก เป็นตัวกำกับ
เสียงเบา เสียงหนัก
ปัน (เป็น) ปั่น (รอ)
อะจู (มีด) อะจู่ (เอาหลับ)
จิฮ (คลอด) จิ่ฮ (ขี่)
ปึฮ (เปิด) ปึ่ฮ (ฝั่ง)
แป็ญ (ยิง) แป็ญ (เต็ม)
ภาษาโส้มีเสียงสระจำนวนมากกว่าภาษาไทย ให้ข้อสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
เฮิม (เห็น) ปะไลปะเฮิม (หัวใจ)
เสียงสระไม่เหมือนกัน สระในคำที่สองต่ำกว่า ขอให้เปรียบเทียบเสียงระหว่างสระ เ- กับสระ แ- เสียงของสระ แ- ต่ำกว่าเสียง เ- ดังนั้นจึงสะกดคำเหล่านี้ด้วยสระ แ- แทน สระ เ-
เอย (คำสร้อย) แอย (พี่สาว)
เยอ (คำเชิญ) แปลอ (ศรีษะ)
เดอ (นะ) ปะแนอ (พรุ่งนี้)
เทิง (เอน) ปิง (บน)
ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
เจี่ยม (ไม้อาหาร) เจี่ยม (ชาม)
เสียงสระไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสะกดคำต้องแตกต่างกันด้วย เสนอใช้ –ยา
เจี่ยม (ให้อาหาร) จ่ยาม (ชาม)
เลี่ยม (เคียว) ล่ยาม (ล่ยาม)
เปี่ยด (กล้วย) จิน่ยาด (ปืน)
ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
กร่วง (เมือง)
กร่วง (รั้ว)
ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
เสียงสระไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสะกดคำต้องแตกต่าง กันด้วย เสนอใช้ –วา
กร่วง (เมือง) กร่วาง (รั้ว)
ญ่วง (ก่อน) ญ่วาง (ชม)
ป่วม (กำลัง) ป่วาน (เต้นรำ)
อะต่วง (กลัว) ตะก่วาล (แปด)
ม่วย (หนึ่ง) จ่วาย (ช่วย)
ย่วร (ลุกขึ้น) จิป่วาก (เสื่อ)
ภาษาโส้คล้ายๆกับภาษากวย,ภาษากูยที่ใช้สื่อสารกันในจังหวัดสุรินทร์
ตอบลบมากๆ ครับ ถ้าพวกเราพูดภาษาตระกูลมอญเขมร ได้เราจะสามารถเรียนรู้
ภาษาที่อยู่ในตระูกูลมอญเขมรได้เร็วครับอย่างเช่น ภาษาบรู ภาษากะตัง
ภาษาโส้ ภาษากวย ภาษากูย ภาษาเหล่านี้อยู่ในกลุ่มภาษามอญเขมรถ้าพูด
ภาษาเหล่านี้จะฟังภาษาทั้งหมดที่กล่าวเบื้องต้นทั้งหมดได้ เพราะคำศัพท์
ส่วนมากใช้เหมือนกันครับ
...............................................................................................
มะไฮ กอนกวย, กอนกูย เออออ เเซมซาย เเอมอาย คุ นะ คุ ได จวย
กะเนีย อนุรักษ์ พาซาทรอ ดัว เซิ่น ออน ไอ เเป๊ด เดอ เเซมซาย เเอมอาย
คุนะคุได มะไฮ กอนกูย กร่วง สุริน เดอ เเน เปอะ ญวง เเซมซาย เเอม
อาย ออน ระเวียรออ คุนะคุได ออน บืน เวียก ออ กะมอ ตะไม
กะไซ ตะไม ออน มี่ มี่ คุนะ เดอ
จะพวง แปลว่าอะไรครับ?
ตอบลบจะพวง แปลว่าอะไรครับ?
ตอบลบ