วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

พะญา ระโว อานา โส้

ภาษาโส้
กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาภาษาโส้อำเภอกุสุมาลย์
                ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านภาษา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง  ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการที่ใช้เชื่อมโยงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วยังประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูดเป็นของตัวเองอีกกว่า 70  กลุ่มภาษา
                ประชากรไทโส้ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์  จังหวัดสกลนครเป็นกลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์พิเศษด้านภาษาและวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการทางสังคมโดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันทัศนคติของชาวโส้ต่อการใช้ภาษามีผลในเชิงถดถอยด้อยคุณค่า ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญและไม่สนับสนุนให้เด็กพูดภาษาโส้เป็นภาษาแม่ ถ้าหากเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่หาทางแก้ไขไม่อีกสิบปีข้างหน้าภาษาโส้คงสูญหายอย่างแน่นอน

แนวทางอนุรักษ์และพื้นฟูภาษาโส้
ภาษาโส้จัดอยู่ในสาขาย่อยมอญ-เขมร ในตระกูลออสโตรเอเชียติก  มีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน คำในภาษามักเป็น 2-3  พยางค์ และเป็นภาษาที่ไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์  แต่มีลักษณะสำคัญคือ มีลักษณะน้ำเสียงปกติและน้ำเสียงต่ำทุ้มเพื่อการจำแนกความหมายของคำ    การที่จะอนุรักษ์ภาษาของชนเผ่าให้คงอยู่นั้น วิธีที่ดีที่สุดคือจัดตั้งระบบการเขียนภาษาตามหลักเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์และเจ้าของภาษาต้องให้การยอมรับ แล้วนำไปใช้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาภาษาโส้ได้เล็งเห็นคุณค่าและตระหนักในมรดกที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนที่บรรพบุรุษได้คิดค้นและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดแนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ร่วมกันโดยกลุ่มได้ตกลงกัน ดังนี้

กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาภาษาโส้อำเภอกุสุมาลย์
เราใช้ตัวอักษรไทยในการจัดทำระบบตัวเขียนภาษาโส้ เพื่อเด็กจะได้ถ่ายโอนและเชื่อมโยงองค์ความรู้จากภาษาแม่(ภาษาโส้)ไปสู่ภาษาไทย(ภาษาราชการ) ต่อไปในอนาคต

    อ่านภาษาได้ไหม ?
                ถ้าคนใดสามารถพูดภาษาโส้ได้ และอ่านภาษาออกคนนั้นสามารถเรียนภาษาโส้ได้อ่านเรื่องง่าย ๆ ที่ใช้อักษรไทยแต่อ่านออกตามสำเนียงภาษาโส้
                มะไฮ ฮิ ซะบัด ตะลีง ตัง แซม.
                 แซม คอง ฮิ ซะบัด ตะลีงไว คะนาด.
                 ฮิ เฮิม ซะลก คอง แซม ระฮะ.
                แซม อี บืน ซะลก ตะไม.
                อะไล จัง แซก ปะระ ตัง ฮิ.












พยัญชนะภาษาโส้
โตํ ตะมิด (พยัชนะต้น)
                       
                แต่ภาษาโส้มีเสียงพิเศษที่ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นต้องหาระบบการเขียนใหม่ที่จะใช้เฉพาะภาษาโส้ของเราเป็นพิเศษ ภาษาโส้มีเสียงพยัญชนะที่ไม่มีในภาษาไทย
 

                ตัวสะกดบางตัวใช้ได้เหมือนภาษาไทย แต่ภาษาโส้มีเสียงอื่นเป็นตัวสะกดที่ไม่มีในภาษาไทย

 


                อ่านคำนี้ได้ไหม ?
              บิจ (นอน)       กะตูร (หู)       กุยาล (ลม) 
              จิตาญ (ทอ)     กึยอ์ (เล็ก)      อุยฮ (ไฟ)

ภาษาโส้มีบางคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นที่ขึ้นจมูกออกเสียงคล้ายกับเสียง หรือ แต่สั้น ๆ อาจจะใช้ อื เป็นสัญลักษณ์สำหรับเสียงนี้
                อ่านคำนี้ได้ไหม ?
                อืปี (พริก)               อืเปา (ฝัน)              อืจึก (ฝาด)
                อืไช (เดือน)            อืตีบ (ถี่)                   อืตาง (ห่าง)
                อืกีง (สะเอว)          อืคะ (กิ่งก้าน)

                ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ แต่ภาษาโส้มีเสียงอื่นพิเศษที่อาจจะเรียกว่า เสียงหนัก หรือเสียงใหญ่ (เสียงที่ถูกเน้นให้หนักกว่าเสียงสามัญในภาษาไทย) เสียงหนัก โดยใช้ ไม้เอก เป็นตัวกำกับ
                เสียงเบา             เสียงหนัก                      
       ปัน      (เป็น)                      ปั่น       (รอ)
       อะจู     (มีด)                        อะจู่      (เอาหลับ)
       จิฮ       (คลอด)                    จิ่ฮ        (ขี่)
       ปึฮ       (เปิด)                       ปึ่ฮ        (ฝั่ง)
       แป็ญ    (ยิง)                         แป็ญ       (เต็ม)

                ภาษาโส้มีเสียงสระจำนวนมากกว่าภาษาไทย ให้ข้อสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
                เฮิม  (เห็น)                ปะไลปะเฮิม (หัวใจ)
                เสียงสระไม่เหมือนกัน สระในคำที่สองต่ำกว่า ขอให้เปรียบเทียบเสียงระหว่างสระ เ- กับสระ แ- เสียงของสระ แ- ต่ำกว่าเสียง เ-  ดังนั้นจึงสะกดคำเหล่านี้ด้วยสระ แ- แทน สระ เ- 
               เ-อ                    แ-อ
    เอย (คำสร้อย)                     แอย         (พี่สาว)
    เยอ      (คำเชิญ)                  แปลอ      (ศรีษะ)
    เดอ      (นะ)                        ปะแนอ (พรุ่งนี้)
    เทิง      (เอน)                       ปิง           (บน)

                ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
                  เจี่ยม  (ไม้อาหาร)        เจี่ยม (ชาม)
                เสียงสระไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสะกดคำต้องแตกต่างกันด้วย เสนอใช้ ยา
               

                เจี่ยม (ให้อาหาร)                    จ่ยาม (ชาม)
                เลี่ยม (เคียว)                 ล่ยาม (ล่ยาม)
                เปี่ยด (กล้วย)                           จิน่ยาด (ปืน)


                ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
                กร่วง        (เมือง)
                กร่วง        (รั้ว)
ขอสังเกตเสียงสระของคำเหล่านี้
                เสียงสระไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสะกดคำต้องแตกต่าง กันด้วย เสนอใช้ วา
               


   กร่วง  (เมือง)                     กร่วาง (รั้ว)
   ญ่วง  (ก่อน)                         ญ่วาง       (ชม)
   ป่วม  (กำลัง)                         ป่วาน       (เต้นรำ)
   อะต่วง  (กลัว)                       ตะก่วาล (แปด)
   ม่วย  (หนึ่ง)                         จ่วาย        (ช่วย)
  ย่วร  (ลุกขึ้น)                         จิป่วาก     (เสื่อ)

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธูปแบบฉบับของชาวโส้

ธูปแบบฉบับไทโส้
ธูปเป็นวัสดุใช้สอยที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ หรือเคารพบูชาในสิ่งชาวโส้เชื่อ เคารพ ศรัทธา โดยมีวิธีการทำดังนี้
         นำข้าวสารเหนียวมาต้มให้เปื่อยและข้นจนเหนียวจนมีลักษณะข้น  นำต้นหรือชิ้นส่วนของต้นแก่นจันทน์มาบดให้
ละเอียดพอประมาณ  นำแก่นจันทร์แดงมาบดให้ละเอียดพอประมาณ  นำดอกจิก ดอกฮัง ที่ตากจนแห้งมาบดนำทุก
อย่างมาตำคลุกให้เข้ากัน แล้วผสมด้วยน้ำข้าวเหนียวที่ต้มปั้นเข้าก้านธูปที่เตรียมไว้ตากให้แห้งพอประมาณ
ข้อมูลจากชาวโส้บ้านแตน เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน สสป.ลาว  งานเทศกาลโส้รำลึกครั้งที่ ๒๘

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาพบรรยากาศงานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๐


เราะออ กุมอ ตะไม
แปลว่า สวัสดีปีใหม่ไทโส้




คุณยายเพียร  ฮามวงศ์  (บุคคลในตำนาน) พอถึงเทศกาลงานโส้ท่านจะเป็นคนประกอบ
พิธีเหยาเปิดงานทุกปีตลอด ซึ่งพิธีนี้ชาวไทโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์จะทำเล่นๆไม่ได้
ปีนี้คงไม่เห็นยายเพียรร่วมงานกับพวกเราอีกแล้ว คงเหลือไว้เพียงความทรงจำและตำนานเล่าขาน 

ลีลาการเล่นลายกลอง ของอาจารย์สมบูรณ์  ฤทธิ์วงศ์จักรครับ
เจอตัวจริงได้ในงานครับ


รวมน้ำใจคนเผ่าไทโส้
















ภาพนี้ไปเยี่ยมงานโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

















ท่านนายอำเภอกุสุมาลย์  กล่าวรายงาน



พิธีมอบทุนการศึกษา ทั้งหมด ๒๙ ทุน

















ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พร้อมท่านนายอำเภอกุสุมาลย์และท่านนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกุสุมาลย์ กำลังนั่งชมการแสดงรำโส้ทั่งบั้ง



  การรำโส้ทั่งบั้ง
คุณประเทือง ใยปางแก้ว  ให้สัมภาษณ์รายการพันแสงรุ้ง
เมื่อครั้งมาถ่ายทำรายการเกี่ยวกับชาติพันธ์โส้
(งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๙ ครับ)

สาวๆ เทศบาลตำบลกุสุมาลย์ครับ น่ารักทุกคนเลยครับ

นี่คือเครื่องบวงสรวง สำหรับพระอารัญอาสาครับ




น.ส.เทียนทอง  สุดา (ยังโสดครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของชาติพันธุ์โส้


 

ทีมงานถ่ายทำรายการสาระสยาม ร่วมบันทึกภาพเป็นที่ระลึก
  
งานวิถีชุมชน คนพัฒนาสังคม  ณ  ม.ขอนแก่น

   






 

ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์โส้

               ชาวโส้โดยลักษณะของการจัดกลุ่มชาติพันธุ์ของมนุษย์ชาติแล้ว ก็ถือว่าเป็นกลุ่มมองโกลอยด์ตระกูลออสโตรเอเชียติค มอญ- เขมร ชนเผ่าโส้นี้ Frank  M. Lebar  นักมนุยวิทยาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้จัดชนเผ่าโส้ไว้อยู่ในกลุ่มข่าเช่นเดียวกับพวก กะเลิง และพวกแสก ในเอกสารชั้นต้นของไทยเมื่อกล่าวถึงโส้มักจะเรียกว่า ข่ากระโส้ มากกว่าเรียกว่า โส้ แสดงให้เห็นถึงการแตกแขนงของพวกข่ามากมายหลายพวกรวมทั้งพวกโส้ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของข่า
         พันตรีอีริค  ไซเด็นฟาเดน  ได้บรรยายลักษณะรูปร่างของชาวโส้ในงานวิจัยภาคสนามที่อำเภอกุฉินารายณ์ โดยใช้ตนเองซึ่งเป็นชาวตะวันตก มาเปรียบเทียบ ตอนหนึ่งว่า ชาวโส้มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน เตี้ย ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1.40 เมตร ถึง 1.60 เมตร ผู้ชายส่วนมากผอมรูปใบหน้าของพวกโส้เป็นรูปไข่ แบน จมูกเล็กไม่โด่ง ปลายจมูกแบน ริมฝีปากมีสีน้ำเงินเข้มและเท่ากันทั้งล่างและบนผู้ชายบางคนปลูกหนวดที่คางแต่บางๆ ผมของชาวโส้ยาวประมาณครึ่งนิ้วและออกสีค่อนข้างเหลือง ส่วนผมของสตรีจะเป็นลอนโดยธรรมชาติ  ขนตามร่างกายสั้น นิ่ม และออกสีค่อนข้างเหลือง นัยตาส่วนที่เป็นสีขาวออกสีเหลืองผิวของชาวโส้ที่อยู่ในร่มเสื้อผ้ามีสีแดงเรื่อๆ แต่ส่วนที่อยู่ข้างนอกจะออกสีคล้ำ เด็กเล็กๆจะมีจุดสีดำตามผิวหนัง แต่จุดนี้จะหายไปเมื่ออายุได้ 31 วันขึ้นไป ผู้ชายนิยมสักขาลายจากเหนือเข่าขึ้นไปถึงขาอ่อนผู้หญิงสักที่ท้องและเอวด้วยลวดลายแบบรวงข้าวหรือลายดอกไม้นานาพันธุ์   เป็นที่น่าสังเกตว่าในปัจจุบัน ความนิยมในการสักขาลายหรือท้องลายได้เสื่อมสลายไปและหาดูได้ยากในหมู่ชาวโส้ตลอดจนชนเผ่าพันธุ์อื่นๆ ทั้งนี้เพราะการวิจัยดังกล่าวได้เขียนขึ้นนานถึง 38 ปีแล้ว
         ความเชื่อของชาวโส้เองก็ยังเชื่อว่าตนเป็นข่าพวกหนึ่งแต่มิใช่ข่าที่ป่าเถื่อนยังมิได้พัฒนา ความเชื่อที่ว่าพวกตนเองเป็นพวกข่านั้นเห็นได้จากประเพณีการลักพาตัวเจ้าสาวซึ่งยังมีเหลืออยู่บ้างในปัจจุบัน ตามแบบในวรรณกรรมเรื่องสินไซหรือสังข์ศิลป์ชัย แม้ว่าวรรณกรรมเรื่องนี้จะมีชนหลายกลุ่มอ้างว่าเป็นของตนแต่ชาวโส้ก็อ้างว่าเป็นวรรณกรรมของพวกอ้ายก๊ก หรือชนพวกแรกที่ออกมาจากน้ำเต้าด้วยการใช้เหล็กเผาไฟไซรูน้ำเต้าการอ้างตนเองว่าเป็นอ้ายก๊กนี้ยัง ปรากฏในนิทานของพวกโส้เรื่องกษัตริย์ อ้ายก๊ก ผู้ที่มีปัญหาและคิดประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้สอนประชาราษฎร์ของพระองค์ให้รู้จักอ่านเขียนหนังสือแต่โชคไม่ดีเมื่อพระองค์ทำสงครามกับศัตรูจนถูกทำร้ายจนสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ยิ่งกว่านั้น สุนัขยังเข้าไปในบ้านพระองค์และคาบเอาหนังควายซึ่งบันทึกตัวอักษรไว้ไปกินเสียอีกจึงทำให้ ชาวโส้ไม่มีตัวอักษรขีดเขียนเหลือแต่ภาษาพูดเท่านั้น

พิธีกรรม “ อะเอียงดง ” หรือประเพณี “ จียา อะวั่อ ตาไม ”

พิธีกรรม อะเอียงดง แปลตามศัพท์ คือ ทำบ้านเรือนให้ปลอดโปร่งหรือทำบ้านเรือนให้สว่างใสว แปลตามความหมาย ได้แก่ประเพณีการกินข้าวใหม่ของชาวไทโส้ 

พิธีซางกะมูด

เมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะมีพิธีแต่งคายเป็นค่าจ้างทำโลงศพ โดยมีเทียน 1 คู่ เหล้า 1 ขวด ไข่ 1 ฟอง เศษเหล็ก เป็นการแก้เคล็ดผู้ทำโลง ส่วนญาติฝ่ายแม่ผู้ตายจะมาในงานโดยไม่ต้องเชิญ เพื่อจะได้ทำพิธีซางผี โดยสมมุติว่าเฒ่าแก่เป็นล่าม ผู้ทำพิธี ล่ามจะใช้ถ้วย 3 ใบ ดอกไม้ 1 คู่ เทียน 1 คู่ บอกแก่ญาติฝ่ายแม่ผู้ตายว่าผู้ตายนี้ตายโดยไม่มีผู้ทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด ถ้าไม่บอกจะถือว่าผิดประเพณีจะมีการปรับไหมกันขึ้น  การแต่งตัวผู้ตายจะสวมกลับทางกับผู้มีชีวิตอยู่ นำเอาข้างหน้าไปไว้ข้างหลังปิดกระดุมด้านหลัง และต้องทำให้เสื้อผ้าขาดเสียก่อน ส่วนกางเกงสวมตามปกติ พร้อมกับเขียนหนังสือใส่กระดาษหรือแผ่นทอง แผ่นเงินใส่ปากและมือผู้ตาย เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งว่าผู้ตายนำของเหล่านี้ไปจ้างทางขึ้นสวรรค์ ผู้ตายมัดมือพนมระหว่างอกใช้เสื่อห่อมัดด้วยฝ้าย ( ด้าย ) 3 เปลาะ คือ ระหว่างศอก และข้อเท้า จึงบรรจุเข้าโลงศพประดับโลงให้สวยงามและขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นพิธีซางผี (ซางกะมูด )   กระทำ ”   กะมูด  แปลว่า ผี   ซางกะมูดมีความหมายถึงการทำให้ผีสุก อันเป็นมงคลก่อนจะนำไปฝังหรือเผา หากไม่กระทำผีนั้นก็จะเป็นผีดิบ ซึ่งไม่เป็นมงคล ( ผีในที่นี้หมายถึง ซากศพ )  คนตายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จึงจะทำพิธีซางได้ หากซากศพนั้นเป็นซากศพที่ตายปกติการทำพิธีซางจะทำได้เลย หากเป็นซากศพที่ตายโดยอุบัตเหตุตายโดยผิดปกติธรรมดาจะซางได้ก็ต่อเมื่อถึงขวบปีผ่านไปแล้วจึงจะทำพิธีซางได้